วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12


เนื้อหาที่เรียน



   คำทายเกี่ยวกับตัวเลข

     เสือ 2 ตัว ไก่ 2 ตัว นับขารวมกันได้เท่าไร ?
     ม้าลาย 2 ตัว นก 3 ตัว กบ 1 ตัว เป็ด 2 ตัว นับขารวมกันได้เท่าไร ?

การออกแบบกิจกรรม      1. ศึกษาสาระที่ควรรู้ ตามหลักสูตร          หลักการการเลือกชื่อเรื่อง  เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก และเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก      2. วิเคราะห์เนื้อหา      3. ศึกษาประการณ์สำคัญ (สิ่งที่เด็กได้กระทำ)      4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์      5. ออกแบบกิจกรรม

 แบ่งกลุ่มเลือกเรื่องทำแผนที่ความคิดนำไปสู่การเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

  - เรื่อง ไก่


แผนที่ความคิด




แผนการสอนเรื่อง ไก่


การประเมิน
  ตนเอง
    ข้าชั้นเรียนตรเวลา ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น 

  เพื่อน
    เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  ผู้สอน
    อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

บันทึกอนุทิน วันพุธที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11 




     นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
     กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต
   

คำคล้องจอง

                     เลข 1 2 3      แล้วตามด้วย 1
                     2 3 มาถึง       เลข 1 อีหน
                     1 2 แล้ว 3      เรียงงามน่ายล
                     ลองนับอีกหน     น่าค้นหาเอย

 
  นิทาน
  ปริศนาคำทาย
    

ทักษะ
 นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
 การคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานที่แปลกใหม่ และน่าสนใจ
 ความสามัคคีกันภายในกลุ่ม การทำงานกับผู้อื่นต้องเข้าใจกัน เราถึงจะทำงานสำเร็จ

วิธีการสอน

  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ และให้ข้อมูลเพิ่งเติมจากที่นำเสนอ

การประเมิน
  ตนเอง
    แต่งกายเรียบร้อย ไม่กล้าแสดงออกในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

  เพื่อน
    เป็นผู้ฟังที่ดี เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

  ผู้สอน
    อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10


 อาจารย์มอบหมายงาน
     - แบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม 
     - แต่งนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทายตามมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ทั้ง 6 สาระโดยเลือกมากลุ่มละ 1 สาระ

 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                   จำนวน 2 กลุ่ม
 สาระที่ 2 การวัด                               จำนวน 1 กลุ่ม
 สาระที่ 3 เรขาคณิต                             จำนวน 2 กลุ่ม
 สาระที่ 4 พีชคณิต                              จำนวน 1 กลุ่ม
 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น           จำนวน 1 กลุ่ม
 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์          จำนวน 1 กลุ่ม



ทักษะ
    
  - การแก้ปัญหา แบ่งกลุ่มโดยการจับฉลาก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม
  - การตัดสินใจ มอบหมายงานโดยตระหนักถึงความสามารถของตนเอง และเพื่อนร่วมกลุ่ม
  - การจัดการกับอารมณ์ ซึ่งการทำงานร่วมกันหย่อมที่จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การใช้เหตุผลพูดคุย อธิบายแทนการใช้อารมณ์ จะส่งผลให้ผลงานที่ทำเสร็จสมบูรณ์ตรงเวลา และความสัมพันธ์ขอลเพื่อนก็ยังคงอยู่



บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9




วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 06 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8 


เนื้อหาที่เรียน


  สาระที่ควรเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย    
      1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก     
      2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก    
      3. ธรรมชาติรอบตัว     
      4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

การจัดประสบการณ์แบบ STEM
  STEM เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

การสอนแบบสมองเป็นฐาน
  BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 
  1. การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย 
    - การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
  2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
    - การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ 
    - การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง 
    - การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ
  3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง 
    - การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง 




  การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการบริหารจัดการศึกษาได้ดังนี้
 1.ในการเรียนการสอน เรียนรู้จากง่ายไปหายาก มีลำดับและเชื่อมโยงกันเสมอ
 2.วิธีการเรียนต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
 3.เน้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และใช้จินตนาการพร้อมให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
 4.ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควรจะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติดังนี้
    4.1  ฝึกสังเกต
    4.2  ฝึกบันทึก
    4.3  ฝึกการนำเสนอ
    4.4  ฝึกการฟัง
    4.5  ฝึกการอ่าน
    4.6  ฝึกการตั้งคำถาม
    4.7  ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด
    4.8  ฝึกการเขียนและเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ

การสอนแบบมอนเตสเชอรี่
  เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง

การเรียนรู้แบบบูรณาการ Story line
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเน้นการปฏิบัติและการเสริมแรงเน้นการเรียนการสอนที่เป็นบูรณาการ
เน้นการปฏิบัติและการเสริมแรงเน้นการเรียนการสอนที่เป็นบูรณาการ

 *** หมายเหตุ ขาดเรียน
  อ้างอิงจาก นางสาววราวรณ์  แทนคำ

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7


เนื้อหาที่เรียน


การจัดมุมประสบการณ์ หรือมุมบทบาทสมมติ ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ คือ ของเล่นสามารถตรวจสอบได้ทันที และเล่นอย่างเป็นขั้นตอน  **เน้น การใช้ประสาทสัมผัส อุณหภูมิ พื้นผิว**
        
  การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์  เด็กเรียนรู้
   - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ และสัญลักษณ์
   - ลำดับ สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่

  การจัดประสบการณ์
   - การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  (Whole Language Approach)
   - การสอนแบบโครงการ  (Project  Approach)
   - การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ (Observational Learning) ตามแนวคิดของ แบนดูรา

  รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
   1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ"
   2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบโครงการ"
   3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบสมองเป็นฐาน"
   4. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบ STEM"
   5. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบมอนเตสเซอรี่"
   6. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบเดินเรื่อง"


  รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)   หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

การนำไปใช้
  ควรคำนึงถึง.......       เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร  **สาระสำคัญ
                        เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร **ประสบการณ์สำคัญ

การรายงานโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 16 - 18
       เลขที่ 16  เรื่อง ผลไม้แสนสุข      
            สรุป การจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์แบบบูรณาการ จากกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัส คือ ลิ้น ลิ้มรสชาติของผลไม้ (บูรณาการวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์) กิจกรรมการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง และกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ โดยเริ่มจากคุณครูทำข้อตกลงร่วมกับเด็กๆ และให้เด็กๆเตรียมคำถามที่จะใช้ถามแม่ค้า ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง บูรณาการด้านสังคม และภาษา 
      เลขที่ 17 เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส       
           สรุป การสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป     
      ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับ       
          ตา (การมอง)       = รูปทรง รูปร่าง ขนาด      
          หู  (การได้ยิน)     = ลำดับโทนเสียง การจำแนกเสียง   
          จมูก(การดมกลิ่น)    = ปริมาณความเข้มของกลิ่น เช่น มาก น้อย     
          ลิ้น (การชิม)       = ปริมาณของรส เช่น หวานมาก หวานน้อย       
          กาย (การสัมผัส)    = พื้นผิว ความหนาแน่น เช่น หนา บาง 


บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6


เนื้อหาที่เรียน


    เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
     นิทาน 
เพลง
คำคล้องจอง
ปริศนาคำทาย
บทบาทสมมติ
แผนภูมิรูปภาพ >>> แผนภูมิรูปภาพ/ของจริง แผนภูมิแท่ง  แผนภูมิวงกลม

กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน
  ยุภา  ธรรมโคตร นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านเกม โดยใช้สื่อที่เป็นจิ๊กซอเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  กมลรัตน์  มาลัย นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านมุมบทบาทสมสติ โดยการเล่นมุมร้านค้าเพื่อส่งเสริมสาระที่ 2 การวัด
  ปรางชมพู  บุญชม นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรม โดยใช้สื่อที่เป็นรูปทรง จากการให้เด็กจำแนกประเภทของรูปทรงแต่ละชนิดเพื่อส่งเสริมสาระที่ 4 พีชคณิต
  ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์ นำเสนอเทคนิคการสอน โดยให้เด็กนั่งตามชื่อที่ติดไว้ สอนในเรื่องของตำแหน่ง และระยะทางเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต

การรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 13 - 15      
    เลขที่ 14 รายงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์                 
        สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อในท้องถิ่น 4 ประเภท คือ รูปทรงเรขาคณิต ประเภทตามขนาด ประเภทตามชนิด และประเภทตามสี  เช่น การเล่นบล็อกที่ทำจากไม้ประดู่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น
    เลขที่ 15 รายงานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์               
        สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนปนเล่น โดยใช้การละเล่นแบบไทย เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย และเกมบรรไดงู เพื่อพัฒนามมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การนับเลข จำนวน 1 - 30 ตัวเลขจำนวนคู่ - คี่ และการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ โดยมีขั้นตอนการจัดเริ่มจากง่ายไปหายาก และเป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม เพื่อฝึกความมีเหตุผล ให้สัมพันธ์กับช่วงอายุ

กิจกรรมการเรียนรู้
เกม     การหารูปทรงจากสี่เหลี่ยม
สื่อ      กระดาษสีทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 X 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น
วิธีเล่น   ให้สร้างรูปทรงจากจำนวนสี่เหลี่ยมที่กำหนด โดยด้านใดด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมติดกัน
โจทย์    จำนวน 1 ชิ้น    >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
        จำนวน 2 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
        จำนวน 3 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
        จำนวน 4 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
        จำนวน 5 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2



เนื้อหาที่เรียน


- เล่นเกม ตัวเลขแสนรัก (ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา) เช่น เลข 33 คืออายุของพี่ชาย
- อาจารย์แนะนำเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียน คือ
          แนะนำตัว >> ชื่อบทความ >> แหล่งที่มา >> สรุปบทความ
ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
       คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ การคิดเลข เป็นวิชาที่มีความสำคัญและจำเป็นกับทุกๆอาชีพ เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัวไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลข
      
       ความสำคัญ คณิตศาสตร์เป็นสาตร์วิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เช่น การฝึกพูด ฝึกเขียน ฝึกใช้ระบบและวิธีการ ทำให้มนุษยเป็นผู้มีเหตุผล ละเอียด รอบคอบ มีไหวพริบปฏิภาณที่ดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
       
      ประโยชน์ของคณิศาสตร์  คือ กระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดและประสิทธิภาพ มีทั้งหมด 5 ทักษะ ดังนี้
      1.จำนวนและการดำเนินการ
      2.การวัด
      3.เลขาคณิต
      4.พีชคณิต
      5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       
     แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาดของคณิตศาสตร์ ช่วยในการส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ ช่วยปลูกฝังและอบรมให้เด็กมีนิสัยละเอียด สุขุม และรอบคอบ

วิธีการสอน
อาจารย์ถามคำถามโดยให้นักศึกษาตอบ เป็นตัวเลข และใช้ power point เป็นสื่อในการสอน

การประเมิน
  สภาพห้องเรียน
    ห้องเรียนมีขนาดเล็ก เก้าอี้จึงเรียงชิดกันทำให้แถวด้านหลังไม่สามารถมองเห็นผู้สอนได้ และไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม

  ตนเอง
    เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  เพื่อน
    รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

  ผู้สอน
    อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ และเข้าสอนตรงเวลา

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1 



เนื้อหาที่เรียน

- อาจารย์แนะนำรายละเอียดของรายวิชา และแนวการสอน- อาจารย์แนะแนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียน- อาจารย์ประเมินความรู้ก่อนเรียน โดยให้นักศึกษาใช้ความรู้เดิมเขียนแผนที่ทางความคิด - พัฒนาการของเด็กปฐมวัย มี 4 ด้าน ประกอบด้วย             1. ด้านร่างกาย            2. ด้านอารมณ์ จิตใจ            3. ด้านสังคม            และ4. ด้านสติปัญญา- กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF)          สกอ ได้กำหนดไว้ 6 ด้าน ดังนี้              1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม              2. ด้านความรู้              3. ด้านทักษะทางปัญญา              4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ              5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ              และ6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้- มาตรฐาน = เกณฑ์ขั้นต่ำ

 เขียนแผนผังความคิด My mapping เรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาศัยองค์ความรู้เดิมในการเขียน

วิธีการสอน

       อาจารย์ใช้คำถาม เช่นมาตรฐานคืออะไร แนวการสอนมีไว้เพื่ออะไร พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีกี่ด้าน หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มคอ. และอาจารย์ใช้วิธีการประเมินก่อนเรียนโดยให้นักศึกษาแสดงความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบแผนผังความคิด

อ้างอิงจาก  นางสาววราภรณ์  แทนคำ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5



ความรู้ที่ได้รับ


ทดสอบก่อนเรียน


  1. มาตรฐานคืออะไรและมรประโยชน์อย่างไร
  2. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
  3. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับคณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

เรียนเรื่อง
 - สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
 - สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน


เพลง จัดแถว
                   สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
               ต่อไปย้ายมาข้างหน้า     เอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย - ขวา
                     ยืนให้ตัวตรง     ก้มหัวลงตรบมือแผละ
                  แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ

การเรียนรู้ของเด้กปฐมวัย
  - เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรุ้
  - เรียนรู้จากการลงมือปฏบัติ

สาระมาตรฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
   - การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้รับจากการนับ
   - อ่านตัวเลขฮินดูอาราบิค
   - การรวมและแยกกลุ่ม
   - ความหมายการรวม
   - การรวมที่มีผลไม่เกิน 10
   - ความหมายของการแยก 
   - แยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่จำนวนไม่เกิน 10
 สาระที่ 2 การวัด
   มาตรฐาน ค.ป. 2.1 ความเข้าใจพ์้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงิน และเวลา
   - การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
   - การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
   - การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
 สาระที่ 3 เรขาคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
   มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
 สาระที่ 4 พีชคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   มาตรฐาน ค.ป. 5.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
   แก้ปัญหา ใช้เหตุผล สื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาศตร์เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ


 คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

 มีความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร (Mathematical Thinking) 
   - มีความรู ความเขาใจและความรูสึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจํานวนนับ 1 - 20
   - เขาใจหลักการ การนับ
   - รูจักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
   - รูคาของจํานวน เปรียบเทียบจํานวน เรียงลําดับจํานวน
   - เขาใจเกี่ยวกับการรวมและการแยกกลุม 
 มีความรูความเขาใจพื้นฐานกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเงิน และ เวลา 
   - เปรียบเทียบ เรียงลําดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร โดยใชเครื่องมือและหนวยที่ไมใชหนวยมาตรฐาน 
   - รูจักเงินเหรียญและธนบัตร
   - เขาใจเกี่ยวกับ เวลาและคําที่ใชบอกชวงเวลา 
 มีความรูความเขาใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 
   - ตําแหนง ทิศทาง และระยะทาง
   - จําแนกรูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ 
 มีความรูความเขาใจแบบรูปและความสัมพันธ 
 สามารถรวมใหและนําเสนอขอมูลในรูปแผนภูมิอยางงาย 
 มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตรที่จําเปน 
   - ความสามารถในการแกปญหา การใหเหตุผล 
   - การสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตรและการนําเสนอ 
   - การเชื่อมโยงความรูตาง ๆทางคณิตศาสตรกับศาสตรอื่น ๆ


วิธีการสอน
  คุณครูใช้ power point เป็นสื่อในการสอนและบรรยาย มีเพลงที่เอาไว้ใช้สอนเด็กที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

การประเมิน
  สภาพห้องเรียน 
    สภาพอากาศภายในห้องหนาวเย็นทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียน

  ตนเอง
    มาตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตอบคำถามคุณครู เข้าใจในสิ่มี่ครูสอน

  เพื่อน
    ตั้งใจเรียน ตอบคำถามครูได้ดี
  คุณครู
    เข้าสอนตรงเวลา บริหารเวลาการสอนได้ดี พูดเสียงดังฟังชัด

บันทึกอนุทิน วันพุธที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4

ความรู้


เกมทายตัวเลข

 เลขอะไรไม่เข้าพวก
  20  15  23  25
(ทุกตัวมีสิทธิ์ไม่เข้าพวก เพราะมันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่เราจะตั้งขึ้น)


  เลขฐานสิบ เช่น  20 คือ 10 กับ 10

               25 คือ 10 กับ 10 กับ 5
               30 คือ 10 กับ 10 กับ 10 เป็นต้น


แบบทดสอบก่อนเรียน        
        1. ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
        2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
        3. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
        4. หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยของบรูเนอร์
  - ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (สามารถสร้างมโนภาพในใจได้)
  - ขั้นสัญและนามธรรม

พัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กปฐมวัยของไวก๊อตสกี้
   ตัวสนับสนุน   >>> สภาพแวดล้อม
              >>> เพื่อน

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
      1. เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
      2. เพื่อพัฒนามโนภาพทางคณิตศษสตร์ เช่น การบวกลบ 
      3. เพื่อให้เด็กรู้จัก และสาารถใช้กระบวนการหาคำตอบ
      4. เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
      5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 1. การสังเกต (Observation)ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
 2. การจำแนกประเภท (Classifying) 
      อาศัยเกณฑ์ในการจำแนก
 3. การเปรียบเทียบ (Comparing)
     - สิ่งที่จะเปรียบเทียบมีสองสิ่งขึ้นไป
     - ควรมีความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะ และศัพท์ทางคณิตศาสตร์ 
 4. การจัดลำดับ (Ordering)
     - เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
     - จัดลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์
 5. การวัด (Measurement)
     - การหาค่าหรือปริมาณที่มีหน่วยมาตรฐานในการวัด
     - สิ่งที่จะวัด ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
 6. การนับ (Counting)
     - นับแบบท่องจำ หรือเรียกว่า "นับปากเปล่า" เป็นการท่องจำแบบไม่เข้าใจความหมาย
     - นับแบบมีความหมาย
 7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
     เด็กปฐมวัยจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าเรียน เพราะเป็นประสบการณ์จากสิ่งรอบตัวเด็ก

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 
  - ตัวเลข
  - ขนาด
  - รูปร่าง
  - ที่ตั้ง
  - ค่าของเงิน
  - ความเร็ว
  - อุณหภูมิ


วิธีการสอน
  คุณครูใช้สื่อเป็น  power point ในการสอนและบรรยาย มีเกมแทนคำถามช่วนในการเรียนการสอนและตอบคำถาม 


การประเมิน
  
สภาพห้องเรียน
   เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ พร้อมใช้งาน จัดเก้าอี้เป็นรูปตัวยู อากาศในห้องเย็นสบาย

ตนเอง
   มาสาย ทำแบบทดสอบไม่ทันตามเวลาที่กำหนด ตอบคำถามเสียงเบา ทำให้คุณครูไม่ได้ยิน จดบันทึกย่อตามที่คุณครูบรรยาย

เพื่อน
  เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน ทานขนมในห้องเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
  บริหารเวลาการสอนได้ดี เข้าสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด