วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน วันศุกร์ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7


เนื้อหาที่เรียน


การจัดมุมประสบการณ์ หรือมุมบทบาทสมมติ ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ คือ ของเล่นสามารถตรวจสอบได้ทันที และเล่นอย่างเป็นขั้นตอน  **เน้น การใช้ประสาทสัมผัส อุณหภูมิ พื้นผิว**
        
  การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์  เด็กเรียนรู้
   - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ และสัญลักษณ์
   - ลำดับ สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่

  การจัดประสบการณ์
   - การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  (Whole Language Approach)
   - การสอนแบบโครงการ  (Project  Approach)
   - การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ (Observational Learning) ตามแนวคิดของ แบนดูรา

  รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
   1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ"
   2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบโครงการ"
   3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบสมองเป็นฐาน"
   4. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบ STEM"
   5. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบมอนเตสเซอรี่"
   6. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบเดินเรื่อง"


  รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)   หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

การนำไปใช้
  ควรคำนึงถึง.......       เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร  **สาระสำคัญ
                        เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร **ประสบการณ์สำคัญ

การรายงานโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 16 - 18
       เลขที่ 16  เรื่อง ผลไม้แสนสุข      
            สรุป การจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์แบบบูรณาการ จากกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัส คือ ลิ้น ลิ้มรสชาติของผลไม้ (บูรณาการวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์) กิจกรรมการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง และกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ โดยเริ่มจากคุณครูทำข้อตกลงร่วมกับเด็กๆ และให้เด็กๆเตรียมคำถามที่จะใช้ถามแม่ค้า ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง บูรณาการด้านสังคม และภาษา 
      เลขที่ 17 เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส       
           สรุป การสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป     
      ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับ       
          ตา (การมอง)       = รูปทรง รูปร่าง ขนาด      
          หู  (การได้ยิน)     = ลำดับโทนเสียง การจำแนกเสียง   
          จมูก(การดมกลิ่น)    = ปริมาณความเข้มของกลิ่น เช่น มาก น้อย     
          ลิ้น (การชิม)       = ปริมาณของรส เช่น หวานมาก หวานน้อย       
          กาย (การสัมผัส)    = พื้นผิว ความหนาแน่น เช่น หนา บาง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น